ความย้อนแย้งระหว่าง ศาสนา การแก้ปัญหาสังคม และการเมือง


สืบเนื่องจากข่าว CNN เมื่อวันที่ 3 ธค. 2557 Link ข่าว

ครั้งหนึ่งท่านพุทธทาส เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
เพราะหนังสือ "ธรรมิกสังคมนิยม"

วันนี้เพราะความตั้งใจปฏิรูปศาสนจักรคาทอลิก 
ก็ถึงตา Pope Francis กับ Evangelii Gaudium บ้าง

ใจความสำคัญของ Evangelii Gaudium  คือ
"I prefer a Church which is bruised, hurting and dirty because it has been out on the streets," the Pope said, "rather than a Church which is unhealthy from being confined and from clinging to its own security."

แต่ก็มีหลายส่วนที่ตั้งคำถามกับปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม
ทำให้ท่านถูกบางคนมองว่า มีวิสัยทัศน์ไปทางเอียงซ้าย
แต่บางคนก็มองว่าท่านไปทางเอียงขวา 

สำหรับผมมันชัดเจนว่า ท่านลากขวาทะลุออกจากปัญหาเรื้องรังของศาสนจักร
และลากซ้ายทะลุคอมมิวนิสต์ ไปถึงความเชื่อที่ว่า "ถ้าคนเรารักกัน โลกก็จะดีขึ้น"
ซึ่งเป็นความเชื่อหลักของชาวคริสต์ครับ

สิ่งที่ตลกคือ ศาสนจักรคาทอลิกที่เป็นต้นตำรับของการล่าแม่มดในยุดมืด
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการไม่รับฟัง ไม่เหลือพื้นที่ให้ความคิดที่แตกต่าง
พอมาถึงยุคสมัยของทุนนิยมในปัจุจบัน ศาสนจักรที่พยายามลุกขึ้นเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น
กลับต้องมาโดนข้อหาคิดต่าง และกลายเป็นแม่มดที่ถูกล่าซะเอง 

ที่มันตลกซ้อนเข้าไปอีก คือเราจะเห็นว่าเมื่อปัญญาทางศาสนา
พยายามเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
ก็จะโดนข้อหา "คอมมิวนิสต์" หรือ "สังคมนิยม" ทันที
กลายเป็นว่า "ความจริงที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกันได้" 
ถูกบดบังไปด้วย "ทัศนคติไม่รับฟังแบบเก้าอี้ฟาดของมานี" ซะทุกครั้งไป
ยังดีที่ฝรั่งยังไม่รู้จักเก้าอี้ของมานี
งานนี้เลยเป็นกรณีศึกษาอันนำมาซึ่งข้อถกเถียงที่น่าสนใจ

เรื่องนี้คงทำให้คำพูดของ Dom Helder Camara
"When I give food to the poor they call me a saint.
When I ask why they are poor, they call me a communist." 

สะท้อนขึ้นมาในใจของของใครหลายคน จริงรึเปล่าครับ





Share on Google Plus

About Dream wolf

เราหายใจด้วยแรงบันดาลใจ
เรากินแรงบันดาลใจเป็นอาหาร

เราตื่นมาทุกวันเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
    Blogger Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น