ซุนวู ฉบับ อาจารย์ พิชัย วาศนาส่ง |
ทำไมหนังสือเล่มนี้ถึงน่าสนใจ
ถ้าถามถึงหนังสือที่อยู่ในความทรงจำของผมมานาน คงไม่มีเล่มไหนเทียบได้กับ"หนังสือตำราพิชัยสงครามของซุนจู้และเง่าคี้" ซึ่่งแปลและเรียบเรียงโดยอาจารย์ พิชัย วาศนาส่งเล่มนี้ แน่นอนว่ามันเป็นหนังสือซุนวูที่เก่าจัดๆ แต่มีความน่าสนใจในหลายแง่มุม ฉบับที่ผมมีเป็นการตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือน มีนาคม 2521 และมันถูกเขียนขึ้นใน "คุก" ครับในหน้าแรกอ.พิชัยกล่าวขอบคุณ คุณทวี ชูทรัพย์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ในสมัยนั้นที่เป็นผู้แนะนำท่านให้ใช้เวลา 9 เดือนเศษในฐานะผู้ต้องขังคดีการเมืองที่เรือนจำบางขวาง เพื่อเขียนหนังสือ
ความประทับใจใน ซุนวู ฉบับ อาจารย์ พิชัย วาศนาส่ง
ตอนอายุ 14 ผมพบหนังสือเล่มนี้ในกองหนังสือลดราคาที่ร้านเช่าหนังสือเอามาขายทิ้งในราคา 5 บาททุกเล่ม และได้ควักค่าขนมแลกมันกลับบ้าน มันจึงเป็นหนังสือเล่มแรกที่ทำให้ผมรู้จักกับชื่อซุนวู
แต่ความประทับทับใจที่แท้จริงเกิดหลังจากนั้น เมื่อผมได้เรียนปริญญาโท ผมพบว่าแนวคิดด้านการบริการและการตลาดหลายอย่างที่ฝรั่งสอนไม่ใช่ของใหม่เลย แต่มันถูกซุนซ่อนไว้ในหลายหน้าของหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจากต้นฉบับเมื่อสองพันปีก่อน เช่นเดียวกับที่โคลัมบัสไม่ได้ค้นพบทวีปอเมริกา แต่เป็นแม่ทัพจีนชื่อเจิ้งเหอต่างหาก
ซุนวูฝึกนางสนมให้เป็นทหาร |
แล้วมีอะไรในเล่ม
นอกจากเกร็ดเล็กประวัติเล็กๆของอ.พิชัยเอง ภายในหนังสือยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมาก เช่นชื่อซุนวูที่เรารู้จักกันดี ที่จริงแล้วเป็นการเรียกนักยุทธศาสตร์สองคนรวมกันคือ ซุนบู๊จู้ (Sun Tzu) และ หวูจิ๊ (Wu Chi) จนกลายเป็น ซุนหวู (Sun Wu) ไปในที่สุด
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบทที่เรารู้จักกันนั้นไม่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่มีการสันนิษฐานไปในสามทาง คือ 1.ซุนบู๊จู้เป็นผู้เขียนเอง 2. ซุนเปินผู้เป็นทายาทเป็นผู้แต่ง 3.เป็นหนังสือที่ลูกศิษย์เรียบเรียงขึ้น
ประวัติ ซุนบู๊จู้ที่บันทึกโดยสุหม่าเฉียน รวมทั้งยังมีประวัติของซุนปิน และเง่าคี้
ในการแปลและเรียบเรียงยังใช้พงศาวดารจีน ไคเภ็ก เลียดก๊ก และสามก๊กประกอบ
แผนที่จีนในยุคนั้น |
อ่านแล้วได้อะไร
"ซุนวูล่าสมัยหรือไม่ใครจะรู้"
ไม่ว่าผู้แต่งที่แท้จริงจะเป็น แนวคิดหลายอย่างของซุนวูถูกอ้างอิงมาตลอดสองพันปีที่ผ่านมาทั้งในหนังสือ หนัง หรือแม้แต่เกมส์คอม ใครนั่นบ่งบอกว่ามันเป็นผลึกทางความคิดที่สมบูรณ์แบบเพียงใด
คงยากที่จะมีใครเข้าใจซุนวูอย่างถ่องแท้ แต่หากคุณสละเวลาศึกษามันบ้าง คุณจะค่อยๆเข้าใจมันและอาจจะพบคำแนะนำดีๆจากอดีตที่ทรงคุณค่า ที่สามารถปรับมาใช้กับการตัดสินใจและการบริหารงานในชีวิตของคุณได้ในหลายสถาณการณ์ครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น